วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แก้วมังกร ( Dragon Fruit )



แก้วมังกร 

ก็เป็นอีกต้นหนึ่งที่พ่อปลูกโดยหลานชายเอาพันธ์มาจากชลบุรี  แล้วขยายพันธ์ออกมาได้หลายต้น ซึ่งที่บ้านได้กินกันทุกปี และออกดกมาก ทำให้นึกถึงคนปลูก ซึ่งตอนนี้ไม่มีชีวิตอยู่แล้ว แต่ต้นไม้ของพ่อยังคงขยายพันธิ์ต่อไปโดยลูกๆๆ 
วันนี้ก็เลยมาเชิญให้ทุกๆๆท่านมารู้จัก"ต้นแก้วมังกร" กันค่ะ 
ภาพต้นมังกรที่ถ่ายลงมา เป็นต้นทีพ่อปลูกที่หน้าบ้านค่ะ 





แก้วมังกร (สกุล Hylocereus) อยู่ในวงศ์ Cactaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับตะบองเพชร มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในอเมริกากลาง เข้ามาในเอเชียที่เวียดนามก่อน โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว โดยปลูกมากตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองญาตรังไปจนถึงไซ่ง่อน

ลักษณะ

แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง แต่ไม่แรงกล้าเกินไป ดอกสีขาว ขนาดใหญ่กลีบยาวเรียงซ้อนกัน บานตอนกลางคืน ผลแก้วมังกรมีรูปทรงเป็นทรงกลมรี สีของเปลือกผลเมื่อดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นมีสีแดงม่วงหรือสีบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล[1] ผลแก้วมังกรส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 300 - 600 กรัม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเนื้อของผลแก้วมังกรสีขาวหากผลนั้นเป็นแก้วมังกรพันธุ์เวียดนามหรือพันธุ์ไทย และเนื้อผลจะมีสีแดงหรือชมพูเมื่อผลนั้นเป็นพันธุ์เนื้อสีแดง โดยมีเมล็ดสีดำเล็กคล้ายๆเม็ดงา หรือเม็ดแมงลัก กระจายฝังอยู่ทั่วเนื้อ แก้วมังกรสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมีดังนี้[1]
  • พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose.) เปลือกสีชมพูสด ปลายกลีบสีเขียว รสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานจัด
  • พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์Hylocercus megalanthus) เปลือกสีเหลือง ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น รสหวาน
  • พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์Hylocercus costaricensis) หรือพันธุ์คอสตาริกา เปลือกสีแดงจัด ผลเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่รสหวานกว่า




การเพาะปลูก

แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อยลำต้นอ่อนจำเป็นต้องมีหลักให้ลำต้นเกาะยึดซึ่งหลักจะเป็นไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ก็ได้ ถ้าใช้ท่อซีเมนต์เป็นเสาซึ่งรูปทรงกลมภายในกลวงแต่เทปูนไว้ก้นท่อเพื่อไว้ใส่น้ำหล่อเลี้ยงให้เสามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝังท่อซีเมนต์ลงในดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ต้องสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร ด้านบนของเสาทำเป็นร้านให้กิ่งเกาะแผ่ขยายออกไประยะปลูก 3 x 3 เมตร เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รอบ ๆ หลัก หลักละ 4 หลุม สำหรับปลูกหลุมละ 1 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า 1 ปุ้งกี๋ เมื่อนำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์


ประโยชน์
แก้วมังกรนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด เป็นส่วนผสมของฟรุตสลัดหรือปั่นเป็นน้ำผลไม้ เป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน[ต้องการอ้างอิง]ตลอดจนช่วยลดความอ้วนเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูง มีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงที่มากับผัก สารตกค้างเช่นตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสียรถยนต์ และสารอื่นๆ และยังช่วยลดการเกิดมะเร็งอีกด้วย[









ผู้โพสเจตนา ต้องการให้ทุกท่านได้รู้จักและมีโอกาสได้ปลูก แก้วมังกรไว้ทานเองที่บ้าน

 ขอขอบคุณ  เครดิตจากข้อมูล
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สนใจช้อมูลเพิ่มเติมที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3
และขอขอบคุณ อาจารย์ใหญ่ สมฤทธิ์ สมปาง ที่ขยายพันธิ์ให้ลูกหลานได้ทานลูกแก้วมังกรทุกปีค่ะ



อาจารย์ใหญ่ สมฤทธิ์ สมปาง 

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ต้นไข่เน่า

                

ต้นไข่เน่า 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex glabrata R.Br. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรไข่เน่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้เห็น (เลย, อุบลราชธานี), ปลู (เขมร-สุรินทร์), คมขวาน ฝรั่งโคก (ภาคกลาง) เป็นต้น
ฉันรู้จักต้น" ไข่เน่า" ได้เพราะพ่อเอามาปลูกที่บ้าน ตอนแรกก็ทานไม่เป็น เพราะเวลาสุกลูกมันจะดำทานแล้วปากจะดำไปหมดและมีรสจืดๆๆแต่พอเอาไปคลุกกับเกลือ กับทำให้รสชาดเปลี่ยนทำให้อร่อยขึ้นมาได้ ตั้งแต่นั้นมาฉันจึงชอบทาน และที่บ้านพ่อจะขยายพันธ์ต่อกิ่งไว้ปลูกหลายต้น มันออกผลได้ดกมาก วันนี้เลยจะมาแนะนำประโยชน์ของต้นไข่เนา และมาทำความรู้จักกันค่ะ 






ไข่เน่า สมุนไพรชื่อเหม็น แต่ดอกหอม สุดยอดสรรพคุณบำรุงสมอง บำรุงระบบเพศ (หมอชาวบ้าน)
โดย ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี

   ได้ยินชื่อ ไข่เน่า อาจจะคิดว่าสมุนไพรชนิดนี้คงจะมีกลิ่นเหม็นแน่ ๆ แต่จริง ๆ แล้วเป็นสมุนไพรที่มีดอกหอม และเต็มไปด้วยสรรพคุณที่ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกัน

         ไข่เน่า" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vitex glabrata R. Br. อยู่ในวงศ์ Verbenaceaa มีชื่อตามท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ขี้เห็น (เลย อุบลราชธานี) ปลู (เขมร-สุรินทร์) คมขวาน ฝรั่งโคก (ภาคกลาง) เป็นต้น ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด

          ไข่เน่า เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงขาว ๆ ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ มีสีเขียวเข้ม คล้ายงิ้ว มีขนาดไม่เท่ากัน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบขอบแหลมหรือมน ขนาดของใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยงมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า และมีขนสั้นอยู่ประปราย ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-7 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อใบจะยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร

          ดอกไข่เน่า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมีสีม่วงอ่อน หรือสีม่วงอมชมพู สีขาวมีแดงเรื่อ ๆ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง และมีขนละเอียดที่ดอก

          ส่วนผลไข่เน่า หรือลูกไข่เน่า มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร

          ผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ มีเนื้ออ่อนนุ่ม รสหวานอมเปรี้ยวและเหม็น เมล็ดมีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย

          



กล่าวว่า "ไข่เน่า" เป็นผลไม้บำรุงสมองบำรุงสุขภาพของคนภาคกลาง โดยไข่เน่าจะมีสารแอนโทไซยานินสูง ซึ่งกำลังมีงานวิจัยในญี่ปุ่นและอินเดียว่าช่วยบำรุงสมองและกระดูกได้ เนื่องจากช่วยให้หลอดเลือดไหลเวียนดี จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องโรคซางในเด็กที่ผอมแห้งแรงน้อย ช่วยให้เจริญอาหาร แต่ปัจจุบันต้นไข่เน่าในประเทศไทยมีน้อย และการเพาะปลูกต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี จึงจะออกผล ซึ่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรกำลังนำไปอนุรักษ์และเพาะปลูก


สรรพคุณทางสมุนไพรของไข่เน่า

     
  ***ผล อุดมไปด้วยแคลเซียม ใช้กิน ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงสมอง แก้โรคกระดูกผุสำหรับผู้สูงอายุได้ดี ผลสุก มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยในระบบขับถ่ายบำรุงระบบเพศ บำรุงไต

        เปลือกต้น ช่วยรักษาพิษตาน ซาง แก้ไข้ แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง ขับพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร เปลือกต้นไข่เน่ามีสารจำพวกสตีรอยด์ (steroid) ที่มีชื่อว่า sitosterol ecdysterone และ anguside (p-hydroxybenzoic ester of aucubin) หมอยาโบราณนิยมใช้เปลือกต้นไข่เน่า มาต้มรวมกับรากเต่าให้ เพื่อปรุงเป็นยารักษาโรคซางในเด็ก

           ราก ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ใช้ขับพยาธิไส้เดือน
          เปลือกผล ช่วยรักษาโรคกระเพาะ หรือโรคลำไส้อักเสบของเด็กทารก
          ต้น ช่วยแก้เลือดตกค้าง
          ผล เปลือกผล ช่วยแก้โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นนัยน์ตา
          ราก เปลือกต้น มีรสฝาด ช่วยแก้อาการท้องเสีย แก้บิด ทำให้เจริญอาหาร
           ราก เปลือกต้น ผล ช่วยแก้ตานขโมย (โรคพยาธิในเด็ก ที่มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผอมแห้ง ซูบซีด มีอาการท้องเดิน ก้นปอด)




ประโยชน์ของไข่เน่า

           ผลสุกของไข่เน่า ใช้กินสดเป็นผลไม้ มีรสหวานเอียนไม่อร่อยนัก หากใส่เกลือป่นหรือจิ้มเกลือก็จะทำให้มีรสชาติดีขึ้น อาจคลุกเคล้ากับเกลือแล้วนำไปผึ่งแดดเก็บไว้กิน หรือจะกินแบบสด ๆ หรือนำไปดองน้ำเกลือก็ได้เช่นกัน

           ผลไข่เน่า สามารถนำไปทำเป็น "ขนมไข่เน่า" ได้ ซึ่งวิธีการทำจะคล้ายกับการทำขนมกล้วย แต่เปลี่ยนจากกล้วยเป็นไข่เน่า ด้วยการหยอดใส่ใบตองทรงกรวยแหลม แล้วเอามะพร้าวขูดโรยหน้าก่อนจะนำไปนึ่ง

           ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี เป็นไม้ที่น่าปลูกสะสม เพราะปัจจุบันเริ่มหายากลงทุกที โดยนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นร่มเงาเนื่องจากเป็นไม้ไม่ผลัดใบ

           เนื้อไม้ มีความแข็งแรง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้







 

ขอบคุณข้อมูลจาก



***ขอขอบคุณอาจารย์ใหญ่ สมฤทธิ์ สมปาง ที่ให้ลูกได้รู้จักต้นไข้เน่า (ต้นไม้ที่พ่อรัก)****
มาช่วยกันขยายพันธ์กันน่ค่ะ